การสื่อสารไร้สายยุคที่ 5

ในอดีตมนุษย์ได้มีการคิดค้นวิธีการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน จากการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในคอรบครัว สู่การการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มชุมชนเดียวกัน พัฒนาเป็นการสื่อสารข้ามกลุ่มชุมชน ข้ามประเทศ และทั่วโลก ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจากอดีตปัจจุบันมนุษย์ได้มีความพยายามคิดค้นวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น 

จนกระทั่งในปัจจุบันโลกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคทองของการสื่อสารไร้สาย ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ทุกที่ทั่วโลก การสื่อสารไร้สายทำให้เกิดบริการเช่นการสื่อสารระยะไกลซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยหรือทำไม่ได้ในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการแบบใช้สาย ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือโทรศัพท์มือถือที่เข้ามาแทนที่โทรศัพท์บ้าน โดยหากสังเกตจากจำนวนยอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยอัพเดตล่าสุด ณ ต้นเดือน มีนาคม 2562 มีจำนวนถึงกว่า 90 ล้านเลขหมาย ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการสื่อสารอยู่ใกล้ชิดกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา จากจุดเริ่มต้นเพียงเพื่อการสื่อสารด้วยเสียง ในปัจจุบันเราสามารถดูวิดีโอและเล่นเกมออนไลน์แบบคมชัดสูงได้อย่างสะดวกสบาย เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้าน คุณภาพ ราคา และความเร็ว

รูปจาก www.mreport.co.th

เราสามารถเรียกการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านการสื่อสารไร้สายออกเป็นยุค (Generation : G) ดังนี้

  • ยุค 1G :  เป็นยุคของการสื่อสารไร้สายแบบอนาล็อก ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายการส่งสัญญาณในระบบ FM ที่เน้นไปที่การสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น ในยุค 1G มีการกำหนดมาตรฐานการสื่อสารที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อเมริกา (AMPS) ยุโรป (NMT) และญี่ปุ่น (TACS)
  • ยุค 2G :  การสื่อสารเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล ในยุคนี้เราสามารถส่งข้อความสั้น ๆ ในรูปแบบ SMS และ MMS ได้ ยุค 2G มีความคล้ายคลึงกับยุค 1G ตรงที่แต่ละประเทศต่างก็มีมาตรฐานการสื่อสารของตนเอง เช่น อเมริกา (D-AMPS, IS-95) ยุโรป (GSM) และญี่ปุ่น (PDC) โดยประเทศไทยได้นำเข้ามาตรฐานของยุโรปหรือ GSM มาใช้
  • ยุค 3G :  เราสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางโทรศัพท์ได้ โดยมาตรฐานการสื่อสารถูกลดลงเหลือเพียง 2 มาตรฐานได้แก่ WCDMA และ CDMA2000 ในยุคนี้ถือเป็นยุคเริ่มต้นในการใช้งานสมาร์ทโฟนในระบบปฎิบัติการ ios และ android
  • ยุค 4G :  เราสามารถดูภาพ และเสียงหรือหนังออนไลน์ได้เนื่องจากมีความเร็วหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น 4G LTE (100 Mbps), LTE Advanced (1 Gbps) ยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่มีความเฟื่องฟูทางด้านการใช้งาน video streaming และ social media ต่าง ๆ
  • ยุค 5G :  ไม่ใช่แค่ใช้กับโทรศัพท์มือถือเป็นหลักเท่านั้น แต่จะรวมถึงใช้กับอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things : IoT) นอกจากนี้ 5G จะทำให้เกิดการให้บริการใหม่ ๆ และ use case อีกมากมาย  

ปัจจุบันนี้ เราก้าวเข้าสู่การสื่อสารยุค 5G โดย 3rd Generation Partnership Project (3GPP)  หรือ องค์กร 3GPP คาดหวังว่าการสื่อสารในยุค5G จะต้องรองรับการสื่อสารกับทุกสรรพสิ่ง หรือการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร หรือระหว่างเครื่องจักรด้วยกันเองได้ นอกจากนี้ได้มีการพิจารณาถึงรูปแบบการใช้งานใน 5G ว่าจะประกอบไปด้วย 3 ด้านที่สำคัญคือ 

enhanced Mobile BroadBand (eMBBเพื่อรองรับการใช้งานการสื่อสารความเร็วสูง ยกตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นที่ต้องการอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงเช่น VR AR และ 8K TV เป็นต้น       

Ultra-Reliable and Low Latency Communications (URLLC) รองรับการส่งข้อมูลที่มีสเถียรภาพ และการหน่วงเวลาต่ำ เพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นที่ต้องการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น การผ่าตัดระยะไกล และรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ 

Massive Machine Type Communications (mMTC) เพื่อรองรับการสื่อสารในบริเวณพื้นที่จำกัดให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด โดยคาดหวังว่าต้องรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 1 ล้านอุปกรณ์ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้บริการด้านการใช้งาน IoT (Internet of thing) 

สามารถรับชมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเทคโลยีการสื่อไร้สายยุค 5G เพิ่มเติ่มได้ที่ . . .

5/5

One Comment on “การสื่อสารไร้สายยุคที่ 5”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *