การปรับอัตรารหัสจะถูกกำหนดโดยคำรหัส \(\mathbf{e}\) ที่ความยาว \(E\) ซึ่งเป็นความยาวที่ถูกกำหนดจากการสื่อสารชั้นถัดไป เนื่องจากกระบวนการลำดับช่องสัญญาณย่อยได้ลำดับบิตแช่แข็งในตำแหน่งที่จะทำการตัดบิตออกแล้ว กระบวนการนี้จะทำการตัดบิตจากเวกเตอร์ \(\mathbf{y}\) ออก ในกรณีที่ใช้การปรับอัตรารหัสแบบการพังก์เชอร์หรือการช็อตเทน หรือส่งบิตเวกเตอร์ \(\mathbf{y}\) ซ้ำในกรณีที่ใช้การส่งซ้ำ รายละเอียดของการปรับอัตรารหัสทั้ง 3 รูปแบบสรุปได้ดังรูปที่ 19 และมีรายละเอียดดังนี้
- การพังก์เจอร์ (puncturing) จะทำเมื่อ \(E<N\) และ \({K}/{E}\;\le {7}/{{16}}\;\) โดยจะไม่ทำการส่งบิต \(U=N-E\) แรก จะได้ผลลัพธ์เวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) ที่ความยาว \(E\) โดยที่ \({{e}_{i}}={{y}_{{i+U}}}\) และ \(i=0,\,1,\,…,\,E-1\)
- การช็อตเทน (shortening) จะทำเมื่อ \(E<N\) และ \({K}/{E}\;>{7}/{{16}}\;\) โดยจะไม่ทำการส่งบิต \(U=N-E\) สุดท้าย จะได้ผลลัพธ์เวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) ที่ความยาว \(E\) โดยที่ \({{e}_{i}}={{y}_{i}}\) และ \(i=0,\,1,\,…,\,E-1\)
- การส่งซ้ำ (repetition) จะทำเมื่อ \(E>N\) โดยจะส่งบิต \(U=N-E\) แรกซ้ำ จะได้ผลลัพธ์เวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) ที่ความยาว \(E\) โดยที่ \({{e}_{i}}={{y}_{{\bmod \left( {i,\,N} \right)}}}\) และ \(i=0,\,1,\,…,\,E-1\)