การลำดับช่องสัญญาณย่อย

ระบบจะทำการสร้างรหัสโพลาร์ ซึ่งเป็นเวกเตอร์ \(\mathbf{u}\) ความยาว \(N\) โดยการเลือกตำแหน่งของบิตแช่แข็ง \({{Q}_{F}}\) และบิตข้อมูล \({{Q}_{I}}\) บิตข้อมูลหรือเวกเตอร์ \(\mathbf{c}\) (หรือ \(\mathbf{{c}’}\)) จากกระบวนการก่อนถูกวางไว้สำหรับตำแหน่งบิตข้อมูล ส่วนตำแหน่งบิตแช่แข็งจะถูกกำหนดค่าเป็นบิต 0 การเลือกความยาว \(N\) จะมีเกณฑ์การเลือกตามสมการด้านล่าง

\(\displaystyle n=\max (\min ({{n}_{1}},\,{{n}_{2}},\,{{n}_{{\max }}}),\,{{n}_{{\min }}})\)

โดยที่ \({{n}_{{\min }}}\) และ \({{n}_{{\max }}}\) คือขอบเขตเลขชี้กำลังล่างและบนตามลำดับ สำหรับช่องสัญญาณ downlink \({{n}_{{\min }}}=5\) และ \({{n}_{{\max }}}=9\) สำหรับช่องสัญญาณ uplink \({{n}_{{\min }}}=5\) และ \({{n}_{{\max }}}=10\) สำหรับ \({{n}_{1}}\) ถือเป็นขอบเขตที่มีเงื่อนไขตามการปรับอัตรารหัสและ \({{n}_{2}}\) เป็นขอบเขตที่มีเงื่อนไขตามอัตรารหัสต่ำสุดและค่า \(K\) คือจำนวนบิตก่อนการเข้ารหัสดังสมการ

\(\displaystyle {{n}_{1}}=\left\{ \begin{array}{l}\left\lfloor {{{{\log }}_{2}}E} \right\rfloor \text{, if }E\le \left( {{9}/{8}\;} \right)\cdot {{2}^{{\left( {\left\lfloor {{{{\log }}_{2}}E} \right\rfloor } \right)}}}\\\left\lceil {{{{\log }}_{2}}E} \right\rceil ,\text{otherwise}\end{array} \right.\)

\(\displaystyle {{n}_{2}}=\left\lceil {{{{\log }}_{2}}\left( {{K}/{{{{R}_{{\min }}}}}\;} \right)} \right\rceil ,\text{ if }{{R}_{{\min }}}={1}/{8}\;\)

หมายเหตุว่า จะมีการเลือก \(n\) สุดท้ายเพื่อให้ได้ความยาว \(N={{2}^{n}}\) การเลือกตำแหน่งของบิตแช่แข็งจะสอดคล้องกับเงื่อนการปรับอัตรารหัส โดยการปรับอัตรารหัสเป็นการปรับขนาดคำรหัสก่อนส่งผ่านช่องสัญญาณ โดยจะกำหนดตัวแปร \(U\) เป็นความยาวในการปรับอัตรารหัส รูปที่ 4 คือตัวอย่างการลำดับช้องสัญญาณย่อยของช่องสัญญาณ BCH ซึ่งสามารถมีความยาว \(A\) หรือ \(K\) ได้เพียงค่าเดียว