การแทรกสลับบิตรหัส

ก่อนการนำคำรหัสที่ผ่านการปรับอัตรารหัสส่งไปยังการสื่อสารชั้นถัดไปเพื่อทำการมอดูเลชัน เวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) จะถูกแทรกสลับอีกครั้งโดยการแทรกสลับแบบสามเหลี่ยมขั้นบันได การแทรกสลับนี้ถือมีความสำคัญเนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มการขยายไดเวอร์ซิตี (diversity gain) ส่งผลให้มีอัตราบล็อกผิดพลาดที่ดีขึ้นในการมอดูเลชันลำดับสูง

กรณีช่องสัญญาณ UCI: การแทรกสลับจะทำงานและให้ \({{I}_{{BIL}}}=1\) รูปแบบการแทรกสลับจะสร้างจากโครงสร้างสามเหลี่ยมขั้นบันไดที่มีความกว้าง-ยาวขนาด \(T\times T\) โดย \(T\) จะมีความยาวเท่ากับจำนวนเต็มค่าน้อยสุดที่ \({{T\left( {T+1} \right)}}/{2}\;\ge E\) เวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) แต่ละบิตจะถูกเขียนเข้าโครงสร้างสามเหลี่ยมแทนด้วยเมทริกซ์สามเหลี่ยมคว่ำ \(\mathbf{v}\) ขนาด \(T\times T\) จากทิศทางซ้ายไปขวาและตามด้วยบนลงล่าง จากนั้นจะสร้างผลลัพธ์คำรหัสที่ผ่านการแทรกสลับบิตรหัส \(\mathbf{f}\) โดยการอ่านค่าจากโครงสร้างสามเหลี่ยมจากทิศทางบนลงล่างและตามด้วยซ้ายไปขวา โดยมองในรายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนที่เว้าของโครงสร้างสามเหลี่ยมนั้นเป็นการแทนค่าในเมทริกซ์ \(\mathbf{v}\)  ด้วย null จากการแทนด้วยค่าของเวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) สามารถเขียนได้ดังสมการ

\(\displaystyle {{v}_{{i,\,j}}}=\left\{ \begin{array}{l}\text{null, if }i+j\ge T\text{ or }j+iT-i\left( {{{\left( {i+1} \right)}}/{2}\;} \right)\ge E\\{{e}_{{j+iT-i\left( {{{\left( {i+1} \right)}}/{2}\;} \right)}}},\text{if otherwise}\end{array} \right.\)

โดยที่ \(i=0,\,1,\,…,\,T\) และ \(j=0,\,1,\,…,\,T\)

สำหรับช่องสัญญาณ BCH และ DCI กระบวนการนี้จะไม่ทำงานและกำหนด \({{I}_{{BIL}}}=0\) เวกเตอร์ \(\mathbf{e}\) จากกระบวนการปรับอัตรารหัสจะถูกบรรจุเข้าเพย์โหลดขาออก \(\mathbf{g}\) สำหรับการสื่อสารชั้นถัดไป