รหัสช่องสัญญาณคืออะไร

การสื่อสารดิจิตอลโดยทั่วไปล้วนต้องการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพหรือปราศจากข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับข้อมูลในฝั่งภาครับ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในสภาพอากาศมีสิ่งรบกวนจำนวนมาก เช่น การรบกวนจากฝน สัญญาณรบกวนแบบจางหาย รวมถึงความร้อนจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการที่จะทำให้การสื่อสารของเราปราศจากข้อผิดพลาดเลยจึงเป็นไปได้ยาก

รหัสช่องสัญญาณ (channel coding) หรือเรียกอีกชื่อหนนึ่งว่า รหัสแก้ไขความผิดพลาด เป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบสื่อสารดิจิทัลที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากรหัสช่องสัญญาณทำให้การรับส่งข้อมูลดิจิทัลปราศจากบิตผิด   รหัสช่องสัญญาณจะทำการเพิ่มบิตตรวจสอบ (parity bits) ไปกับข้อมูลผู้ใช้งาน โดยที่ภาครับจะนำบิตดังกล่าวนั้นมาตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของช่องสัญญาณแต่ละแบบได้ ๆ  

ในปัจจุบันนี้มีรหัสช่องสัญญาณให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสมกับแอพพลิเคชันต่าง ๆ เช่น   

  • รหัสแฮมมิ่ง (Hamming Codes: 1950)  ถูกใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ RAM และ DRAM 
  • รหัสคอนโวลูชัน (Convolution Codes: 1955) ถูกใช้ในการสื่อสารดาวเทียม
  • รหัสเทอร์โบ (Turbo Codes: 1993) การคิดค้นรหัสดังกล่าวนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของการสื่อสารยุคใหม่ เนื่องจากรหัสดังกล่าวได้ถูกพิสูจน์ว่ามีสมรรถนะที่เข้าใกล้ขีดจำกัดทางทฤษฎีหรือ “ขอบเขตของแชนนอน (Shannon’s limit)” ซึ่งรหัสดังกล่าวได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโทรศัพท์มือถือยุค 3G – 4G
  • รหัสแอลดีพีซี (LDPC codes: 1962) รหัสแอลดีพีซีนี้ได้ถูกพิสูจน์ด้วยเช่นว่ามีสมรรถนะที่เข้าใกล้ขีดจำกัดของแชนนอนเช่นเดียวกันกับรหัสเทอร์โบ อีกทั้งยังมีความซับซ้อนในการเข้าและถอดรหัสที่ต่ำกว่ารหัสเทอร์โบอีกด้วย ดังนั้นรหัสแอลดีพีซีจึงถูกใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เช่นใน Wireless Network, Digital broadcasting, Hard disk drive, Solid-state drive
  • รหัสโพลาร์ (Polar codes: 2009) เป็นรหัสที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นในปี 2009 และยังไม่ได้ถูกนำมาใช้กับแอพพลิเคชันนใด ๆ อย่างเป็นทางการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *